การผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นจุลินทรีย์ที่พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม สระน้ำบ่อน้ำ ทะเลสาบ ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด และยังพบตามแหล่งน้ำเสีย และบ่อบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนี้ สามารถใช้บำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน การเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯช่วยตรึงไนโตเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้กับพืชเร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่าเมื่อใช้ทางดินจะทำให้รากพืชแข็งแรงและหาอาหารได้ดีขึ้น ใช้กับนาข้าวช่วยเร่งการแตกกอของข้าวช่วยในการย่อยธาตุอาหารและวัตถุอินทรีย์ในดิน เพื่อให้พืชดูดซึมไปใช้ได้อย่างง่ายดาย ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดิน ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช
วิธีการผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
- เตรียมน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติน้ำประปาหรือน้ำดื่มทั่วๆไป
- เตรียมไข่ไก่, ชูรส, ขวดใสขนาด 1.5-6 ลิตร, ช้อนชา และช้อนโต๊ะ
- หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 500 มล.
- ตอกไข่ใส่ถ้วยคนให้เข้ากัน
- การขยายจุลินทรีย์ในขวดขนาดต่างๆ มีส่วนผสมดังนี้
- การขยายจุลินทรีย์ในขวด 1.5 ล. ใช้ไข่ 2 ช้อนโต๊ะ ชูรส 1 ช้อนชา
- การขยายจุลินทรีย์ในขวด 6 ล. ใช้ไข่ 3 ช้อนโต๊ะ ชูรส 2 ช้อนชา
- นำไปตากแดด 2 เดือน สามารถนำไปใช้งานได้ แต่ถ้าจะขยายเชื้อเพิ่มต้องตากแดด 3 เดือนขึ้นไป
ประโยชน์ของการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
- ช่วยย่อยสลายของเสียในแปลงนา โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเข้าไปทำลายกำจัดก๊าซไฮโดรเจน
- ช่วยลดสภาวะโลกร้อนจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะเข้าไปทำลายและย่อยสลายกลุ่มก๊าซมีเทนที่มีอยู่ในแปลงไร่นาทำให้โครงสร้างของก๊าซมีเทนเสียไป ให้เหลือแต่ธาตุคาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ
- ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดีและมีระบบรากฝอยที่ดี การใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลงและช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญ
- สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย โดยใช้หลักการย่อยสลายของเสียให้เป็นธาตุอาหารหลักของพืช ได้และเมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆ ลงได้ ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง และมีกำไรเพิ่มมาก ขึ้นทั้งยังสามารถใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และคุณภาพผลผลิตดีขึ้นด้วย