ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

สมุนไพรพื้นบ้าน

ขลู่

ขลู่

ชื่ออื่น ๆ

  • หนาดงั่ว
  • หนวดงิ้ว
  • หนาดวัว (อุดรธานี)
  • เพี้ยฟาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
  • ขลู
  • คลู(ใต้)
  • ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • Pluchea indica (L.) Less.

ชื่อวงศ์

  • Compositae

ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ

ขลู่เป็นพืชวงศ์เดียวกับเบญจมาศน้ำเค็ม สาบเสือ เก๊กฮวย ดาวเรือ ทานตะวัน และบานชื่น เป็นพืชที่ชอบขึ้นตามลำพังทั่วไป โดยเฉพาะที่มีน้ำเค็ม ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทราย หรือป่าชายเลน พบได้ในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศอินเดีย ฟิลิปินส์ มาเลเซีย และประเทศไทย

ต้น

ขลู่เป็นเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 1-2 ม. ออกดอกตลอดปี

ใบ

ใบรูปไข่กลับ กว้าง 1-5 เซนติเมตร ยาว 2.5-10 เซนติเมตร ปลายใบมน ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่าโคนใบ โคนใบสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม ก้านใบสั้นมาก เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ รสหอมฝาดเมาเค็ม มีกลิ่นหอมฉุน ใบเมื่อนำมาผึ่งให้แห้ง จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา

**นิยมใช้เฉพาะใบ**

สรรพคุณของสมุนไพร

ราก

รากมีรสหอมฝาดเมาเค็ม แก้กระษัย ขับนิ่ว

ต้น

ต้นอ่อนมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดข้อในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม ตำผสมกับแอลกอฮอล์ ทาหลังบริเวณเหนือไต บรรเทาอาการปวดเอว ต้มน้ำอาบรักษาหิด ขี้เรื้อน

เปลือกต้น

มีสรรพคุณแก้โพรงจมูกอักเสบ (ไซนัส)

ใบ

ใบมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะและยาบีบมดลูก แก้เบาหวาน ขับนิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร โรคบิด แก้กระษัย ยาอายุวัฒนะ สมานภายนอกและภายใน แก้ไข้ ขับเหงื่อ รักษากลิ่นปาก ช่วยลดน้ำหนัก บรรเทาอาการปวดเมื่อยและบรรเทาอาการปวดข้อในโรคไขข้ออักเสบ มุตกิด (โรคระดูขาว) แก้ผื่นคัน บำรุงประสาท รักษาโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม บรรเทาอาการปวดเอว รักษาหิดและขี้เรื้อน

ดอก

ดอกมีรสหอมฝาดเมาเค็ม แก้นิ่ว

การใช้สมุนไพร

ผู้ให้ข้อมูล

นางส่วน ศฤงฆ์อนันต์

ผู้สูงอายุ ตำบลแม่ปะ

QR Code-ขลู่