ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

สมุนไพรพื้นบ้าน

โด่ไม่รู้ล้ม (ช้างย่ำเปอะ)

ช้างย่ำเปอะ (โด่ไม่รู้ล้ม)

ชื่ออื่น ๆ

  • ขี้ไฟนกคุ่ม
  • คิงไฟนกคุ่ม
  • เคยโบ้
  • ตะชี
  • โกวะ
  • หญ้าไก่นกคุ่ม
  • หญ้าปลาบ
  • หญ้าไฟนกคุ่ม
  • หญ้าสามสิบสองหาบ
  • หนาดผา
  • หนาดมีแคลน

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • Elephantopus scaber var. scaber L.

ชื่อวงศ์

  • Asteraceae

ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ

โด่ไม่รู้ล้มพบขึ้นตามป่าโปร่งที่ดินค่อนข้างเป็นทรายทั่วๆ ไปในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าสนเขา ทุกภาคของประเทศไทย และประเทศเขตร้อนทั่วโลก​

ต้น

ต้นโด่ไม่รู้ล้ม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสั้น กลม ชี้ตรง สูง 10-30 ซม. ตามผิวลำต้น และใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบ

ใบ

ดอกโด่ไม่รู้ล้ม เป็นช่อแทงออกจากกลางต้น ช่อดอกรูปขอบขนาน มี 4 ดอกย่อย ยาว 8-10 มม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว 3-3.5 มม. เกลี้ยง ปลายกลีบดอกยาว 1.5-2 มม. ไม่มีขน

ดอก

ดอกออกเป็นช่อแบบข่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก ประมาณ 10-15 ดอก ออกออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกสีแดงสด กลีบบางมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาว 2.5-3.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก

ผล

ผลโด่ไม่รู้ล้ม เป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลเล็กเรียว รูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกมีขนหนาแน่น ยาว 2.5-3 มม. กว้าง 0.4-0.5 มม. ไม่มีสัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา

สรรพคุณของสมุนไพร

ชุมชนบนพื้นที่สูง ใช้ทั้งต้นทั้งราก นำไปตากแห้ง ต้มน้ำดื่มหรือใช้ดองเหล้า สำหรับบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้ปวดเมื่อย-ปวดหลังปวดเอว ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ รักษานิ่ว หมอยาพื้นบ้านทั่วไป ใช้

ราก

รากใช้ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้ฝี แผลมีหนอง บวมอักเสบทั้งหลาย เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับไส้เดือน รักษาโรคบุรุษ ต้มดื่มแก้อาเจียน แก้กามโรคในสตรี

ต้น

ต้นมีรสกร่อยขื่น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้วัณโรค บำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับระดู ขับพยาธิตัวกลม แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงกำหนัด แก้กระษัย ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้บวมน้ำ แก้นิ่ว แก้ไข้หวัด แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง แก้ดีซ่าน แก้เลือดกำเดาออกง่าย แก้ฝี แก้แผลมีหนอง แก้แผลงู แก้แมลงมีพิษกัดต่อย แก้อักเสบ แก้แผลในกระเพาะอาหาร แก้แผลเปื่อยในปาก แก้เหน็บชา

ใบ

ใบใช้รักษาบาดแผล แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร แก้โรคผิวหนัง (ใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ เคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแผล แก้โรคผิวหนังผื่นคัน) แก้ไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้กระเพาะอาหารเป็นแผล ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย รักษาโรคบุรุษ รักษากามโรค เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง แก้ไอ ทำให้เกิดความกำหนัด แก้กามโรคในสตรี

การใช้สมุนไพร

ผู้ให้ข้อมูล

อาจารย์วิญญู ไทยอู่​

ปราชญ์ชาวบ้านตำบลมหาวัน​​

QR Code-โด่ไม่รู้ล้ม