สมุนไพรพื้นบ้าน
คนทีสอ
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
ต้น
ต้นเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 3-6 เมตร มีเปลือกของลำต้นเป็นสีเทา เป็นกระสีดำ เปลือกเรียบแตกเป็นร่องตื้นตามยาว
ใบ
ลักษณะของใบจะเป็นใบประกอบแนวนิ้ว ออกตรงข้ามกัน ใบย่อยเป็นรูปไข่มีปลายแหลม 3 ใบ กว้างประมาณ 3 ซม. ยาว 4-6 ซม. ขอบใบจะเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ท้องและหลังใบเรียบ ท้องใบมีสีขาวนวล ส่วนหลังใบเป็นสีเขียว
ดอก
ดอกเล็กสีม่วงเป็นช่อยาว ออกดอกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน
ผล
ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมเท่าผลพริกไทยเป็นพวงช่อ สีดำเป็นมัน ข้างในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา
- เมล็ด
- ราก
- เปลือกต้น
- ใบ
- ดอก
- ผล
สรรพคุณของสมุนไพร
เมล็ด
รสร้อนสุขุม ระงับปวด เจริญอาหาร ราก รสร้อนสุขุม แก้ไข้ แก้โรคตับ โรคตา ถ่ายน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
ราก
ต้มกินแก้ไข้ ให้หญิงหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะและขับเหงื่อ
เปลือกต้น
เปลือกใช้รักษาอาการไข้ซึ่งมีอาการกระทำให้เย็น รักษาอาการคลื่นเหียน รักษาหญิงระดูพิการ
กระพี้
กระพี้ใช้รักษาอาการคลื่นเหียนอาเจียน รักษาระดูสตรี
ต้น
ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดท้องอืด
ดอก
รสหอมฝาด แก้ไข้ แก้หืดไอ ฆ่าพยาธิ บำรุงครรภ์มารดา บำรุงน้ำนม
ใบ
ใบมีรสร้อนสุขุมหอม บำรุงน้ำดี ขับเสมหะ บำรุงธาตุ รักษาโรคตับ ขับลม แก้ไข้ แก้ไอ แก้หืด ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวงจมูก แก้ลำไส้พิการ ขับเหงื่อ แช่น้ำอาบแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน รักษาอาการสาบคายในกาย แก้พิษฝีใหญ่ แก้พิษสำแลง และพิษต่างๆ ผสมกับเทียน ขมิ้น พริกไทย รับประทานแก้วัณโรค รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แช่น้ำอาบแก้ผื่นคันโรคผิวหนัง โรคปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ และเป็นยาไล่แมลง ให้หญิงหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะและขับเหงื่อ
ผล
รสร้อนสุขุม แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลม ฆ่าพยาธิ แก้หืดไอ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงจมูก แก้ปวดตามเนื้อตามข้อ แก้ท้องมาน ขับเหงื่อ
การใช้สมุนไพร
- นำใบสีเสื้อน้อยมาต้มร่วมก้บใบเสนียด ใบเปล้า ใบหนาด เหงือกปลาหมอ ชมิ้นอ้อย ไพล ใบมะกรูด และใบว่านสาวหลง นำมาผสมน้ำสะอาดแล้วนำไปอาบ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการปวดเมื่อย รูขุมขนบริเวณผิวหนังเปิด ทำให้เลือดไหลเวียนดี หายใจสะดวก กลิ่นหอมของสมุนไพรช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลายความตึงเครียด