ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

สมุนไพรพื้นบ้าน

ใบสาบเสือ

ใบสาบเสือ

ชื่ออื่น ๆ

  • หญ้าเสือหมอบ/หญ้าดงร้าง/หญ้าดอกขาว/บ้านร้าง/หมาหลง (สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี)
  • ฝรั่งเหาะ/ฝรั่งรุกที่ (สุพรรณบุรี)
  • ผัดคราด/บ้านร้าง (ราชบุรี)
  • หญ้าดงรั้ง/หญ้าพระสิริไอสวรรค์ (สระบุรี)
  • หญ้าดอกขาว (สุโขทัย ระนอง)
  • หญ้าเลาฮ้าง (ขอนแก่น)
  • สะพัง (เลย)
  • มุ้งกระต่าย (อุดรธานี)
  • หญ้าลืมเมือง (หนองคาย)
  • มนทน (เพชรบูรณ์)
  • เบญจมาศ (ตราด)
  • หมาหลง (ชลบุรี-ศรีราชา)
  • พายัพ/พาทั้ง/หญ้าเมืองวาย/นองเส้งเปรง /เซโพกวย/ซิพูกุ่ย (เชียงใหม่)
  • ไช้ปู่กย/ชีโพแกว่ะ/เชโพแกว่ะ (แม่ฮ่องสอน)
  • รำเคย (ระนอง)
  • ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์ธานี)
  • หญ้าเหมือน/หญ้าเมืองฮ้าง/ต้นลำฮ้าง (อิสาน)
  • ต้นขี้ไก่ (ใต้)
  • พาพั้งขาว (ไทใหญ่)
  • จอดละเห่า (ม้ง)
  • หญ้าเมืองวาย (คนเมือง)
  • เฮียงเจกลั้ง/ปวยกีเช่า (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • Chromolaena odorata (L.) R.M.King&H.Rob.

ชื่อวงศ์

  • Compositae

ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ

ต้น

เป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นพืชที่แตกกิ่งก้านสาขามากจนเหมือนทรงพุ่ม กิ่งก้านและลำต้นจะปกคลุมไปด้วยขนนุ่มอ่อน ๆ มีลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร

ใบ

ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นที่ข้อแบบตรงกันข้าม ใบมีสีเขียวอ่อน ลักษณะของใบคล้ายรูปรีทรงรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง ใบเรียวสอบเข้าหากัน มีขอบใบหยัก ที่ใบเห็นเส้นชัดเจน 3 เส้น ผิวใบทั้งสองด้านมีขนอ่อนปกคลุม ใบและก้านเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายกลิ่นสาบเสือ

ดอก

ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีฟ้าอมม่วง มีดอกย่อยประมาณ 10-35 ดอก โดยดอกวงนอกจะบานก่อนดอกวงใน ที่กลีบดอกหลอมรวมกันเป็นหลอด

ผล

ผลขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายรูปห้าเหลี่ยม มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ที่ปลายผลมีขนสีขาว ช่วงพยุงให้ผลและเมล็ดสามารถปลิวตามลมได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา

สรรพคุณของสมุนไพร

ราก

มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แก้อักเสบ

ต้น

ต้นเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง นอกจากนี้ ใบสาบเสือ ยังมีฤทธิ์ พิชิตปลวกได้อีกด้วย

ใบ

ใบมีสารสำคัญ คือ กรดอะนิสิกและฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซากูรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้[5]ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ยาต้มที่ใส่ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

ดอก

ดอก เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้

การใช้สมุนไพร

ผู้ให้ข้อมูล

นางธนิษฐา กาใจ​

ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลพะวอ​

QR Code-ใบสาบเสือ