ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

สมุนไพรพื้นบ้าน

พลู

พลู

ชื่ออื่น ๆ

  • ซีเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • Piper betle Linn.

ชื่อวงศ์

  • Piperaceae

ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ

เมล็ด

เมล็ดมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรีคล้ายรูปไข่

ต้น

พลูเป็นไม้เถา เนื้อแข็ง เป็นไม้เลื้อยระบบรากฝอย (fibrous root system) เกิดตามข้อใช้หาอาหารและยึดเกาะ ซึ่งรากหาอาหารจะอยู่ในดินทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารจากดินมาเลี้ยงลำต้น มีรากขนาดใหญ่ประมาณ 6 รากและมีรากแขนงแตกแยกออกไปเป็นวงกว้างตามขนาดของทรงพุ่มและจะหยั่งลึกลงไปในดิน ส่วนรากยึดเกาะบางครั้งเรียกว่ารากตีนตุ๊กแก จะแตกออกตามข้อทำหน้าที่ยึดเกาะกับเสาหรือหลักหรือวัตถุค้ำยันเพื่อให้ลำต้นสูงขึ้นไปและไม่ให้ลำต้นหลุดร่วงออกได้ง่าย รากชนิดนี้ไม่ทำหน้าที่หาอาหาร ปกติเป็นรากใหม่อ่อนๆ ลำต้น เป็นเถาเลื้อย ลักษณะของลำต้นอวบน้ำมีร่องเล็กๆ สีน้ำตาลยาวขนานไปตลอดลำต้น สันร่องมีสีเขียว มีข้อและปล้องชัดเจน เจริญยึดเกาะกับเสาหรือไม้ค้ำยันหรือหลัก ทุกส่วนมีกลิ่นหอมเฉพาะ

ใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อใบ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ฐานใบมนหรือค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีสีเข้มกว่าใบด้านล่าง เรียบและเป็นมัน มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น เส้นใบด้านบนจะบุ๋มลงไปตลอดแผ่นใบ ส่วนผิวใบด้านล่างจะนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน ใบอ่อนจะเป็นสีเขียวและใบแก่สีจะเข้มขึ้น และมีกลิ่นฉุน

ดอก

ออกดอกเป็นช่อแบบแกนห้อยลงที่ซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้าน รูปร่างของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกออกเป็นกลุ่มเรียงอยู่บนก้านช่อดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก

ผล

ผลมีลักษณะผลรูปทรงกลม เป็นผลมีเนื้อ เบียดกันแน่นอยู่บนแกน เมื่อสุกมีสีแดง

ส่วนที่ใช้เป็นยา

สรรพคุณของสมุนไพร

ราก

ใช้รักษาโรคเอดส์

ใบ

ใบรสเผ็ดเมา เคี้ยวกินกับหมาก ขยี้แล้วใช้อุดจมูก ช่วยห้ามเลือดกำเดาให้หยุดไหล แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดศีรษะ แก้ปวดท้อง ท้องเสีย กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า ใช้ภายนอก แก้ปวด บวม ฟกช้ำ ฆ่าเชื้อโรค เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ฆ่าเชื้อโรคหนอง ฝี วัณโรค แก้การอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้ฮ่องกงฟุต แก้คัน แมลงกัดต่อย แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้องและแก้ลูกอัณฑะยาน บรรเทาอาการไอมีเสมหะ แก้คัดจมูก เจ็บคอ

น้ำมันพลู

มีสารประกอบฟีนอล (phonolic compound) ได้แก่ isoeugenol, chavicol, eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคทำให้ปลายประมาทชา แก้อาการคัน

น้ำคั้นจากใบ

น้ำคันจากใบพลูสด รสเผ็ด เป็นยาถ่ายพยาธิ ยาระบายอาการท้องผูก ยาเจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดไข้ แก้ปวดศรีษะ ขับลมในกระเพาะอาหาร ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น เป็นยาสมานแผล และใช้ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์แก้อาการผื่นคัน ลมพิษ แพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด แก้ตาแดง แก้วิงเวียน

การใช้สมุนไพร

ผู้ให้ข้อมูล

นางธนิษฐา กาใจ​

ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลพะวอ​

QR Code-พลู