ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

สมุนไพรพื้นบ้าน

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

ชื่ออื่น ๆ

  • กวน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
  • เครือเถาเอ็น (เชียงใหม่)
  • ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ)
  • เมื่อย (ภาคกลาง)
  • นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
  • หญ้าลิเลน (ปัตตานี)
  • หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • Cryptolepis buchanani Roem.&Schult.

ชื่อวงศ์

  • Asclepiadaceae

ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ

เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆเช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

ต้น

ต้นเอ็นเถาอ่อนนั้นเป็นไม้เลื้อยจำพวกเถาเนื้อแข็งที่ชอบพาดพันกับต้นไม้อื่น มีเปลือกเถาเรียบสีน้ำตาลแกมดำ เมื่อแก่เปลือกจะหลุดออกมาเป็นแผ่น และทุกส่วนของต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นจะมีน้ำยางสีขาวอยู่

ใบ

ใบนั้นจะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน แผ่นใบจะหนา เป็นรูปรี บริเวณปลายจะมน หางสั้น ส่วนโคนสอบ และดอกจะออกเป็นดอกช่ออยู่ตามซอกใบ มีดอกย่อยเป็น

ดอก

ดอกเถาเอ็นอ่อนออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีเหลืองอ่อนหรือเป็นสีขาวอมเหลือง ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ

ผล

ผลของต้นเถาเอ็นอ่อนนี้จะเป็นออกเป็นฝักทรงกระบอก มีเนื้อแข็ง ติดกันเป็นคู่ๆ ปลายแหลม ผิวลื่น เมื่อแก่แล้วผลจะแตกออกเพียงด้านเดียว มีเมล็ดเป็นรูปทรงรีสีน้ำตาล พร้อมขนปุยสีขาวๆติดอยู่

ส่วนที่ใช้เป็นยา

สรรพคุณของสมุนไพร

เมล็ด

เมล็ดช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อในท้อง และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ให้รสขมเมา

เถา

เถาช่วยแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ขัดยอก รวมทั้งแก้เส้นเอ็นพิการ และช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง ให้รสขมเบื่อมัน นอกจากนี้ยังนำสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนี้มาใช้อบเป็นยาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นปวดเอว หรือปวดหลัง เป็นต้น แต่มีข้อควรระวังสำหรับต้นเถาเอ็นอ่อนนี้คือ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินกว่าที่ได้กำหนดไว้ เพราะต้นเถาเอ็นอ่อนมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

ใบ

ใบใช้ทำเป็นลูกประคบช่วยแก้อาการเมื่อยขบ ช่วยคลายเส้น และแก้อาการปวดเสียวเส้นเอ็น ให้รสเบื่อเอียน

การใช้สมุนไพร

ผู้ให้ข้อมูล

น.ส.ประกาย ชาญณรงค์​

วิสาหกิจชุมชนบ้านสมุนไพรแม่ทองคำ

QR Code-เถาเอ็นอ่อน