วิชาเอกเทคโนโลยีโลจิสติกส์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์

(วิชาเอกเทคโนโลยีโลจิสติกส์)

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

1.  ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย  :    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
  • ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Accounting

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย
  • ชื่อเต็ม : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์)
  • ชื่อย่อ : วท.บ. (ภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์)
ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Geoinformatics and Logistics Technology)
  • ชื่อย่อ : B.Sc. (Geoinformatics and Logistics Technology)

3. วิชาเอก

  • เทคโนโลยีโลจิสติกส์

4. หน่วยกิต

  • จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

5. อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • 1. นักปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเช่น เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่ง ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายสินค้าคงคลัง ฝ่ายเทคโนโลยีโลจิสติกส์
  • 2. นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • 3. ที่ปรึกษางานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • 4. ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ธุรกิจขนส่งสินค้า ธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์

6. รายวิชาที่น่าสนใจ

  • 1. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีโลจิสติกส์
  • 2. ระบบนำทางด้วยดาวเทียมและเทคโนโลยีขนส่ง
  • 3. การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งเชิงธุรกิจและโลจิสติกส์
  • 4. อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่งในงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • 5. ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูลด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • 6. นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจสมาร์ทโลจิสติกส์

7. ข้อมูลเพิ่มเติมจากหลักสูตร

ปรัชญา

          ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ สามารถบูรณาการองค์ความรู้และปัญญา ในการบริหารจัดการและสร้างนวัตกรรมเชิงพื้นที่ เพื่อตอบสนองการพัฒนาและเพิ่มมูลค่า ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ มีคุณธรรม และมีจิตสำนึกในการรับใช้ท้องถิ่นและประเทศชาติ


ความสำคัญ

          เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้และทักษะด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบันและในอนาคต สามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อสร้างแนวทางในการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ เพื่อตอบสนองการพัฒนาและเพิ่มมูลค่า ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ มีคุณธรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพสู่ความยั่งยืน เป็นหลักสูตรที่มีความต้องการบุคลากรของตลาดแรงงานสูง ทั้งในหน่วยงานราชการ เอกชน และท้องถิ่น


วัตถุประสงค์
  • 1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ที่สามารถนำไปปฏิบัติงานในวิชาชีพได้เป็นอย่างดี และสามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เป็นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาชีพและพัฒนาตนเอง
  • 2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและมีเจตคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
  • 3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติการและจัดการเกี่ยวกับพื้นที่โดยใช้ด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์
  • 4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์แก่บุคคลทั่วไปได้
  • 5. เพื่อผลิตบัณฑิตให้ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบด้านด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ พร้อมที่จะเสียสละและสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

  • คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
  •           จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพตรงตามความต้องการของสังคมและท้องถิ่นตามคุณวุฒิ ศักยภาพ และสมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษา สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ มีความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา และศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม เคารพกฎหมาย มีภาวะผู้นำ รู้รักษ์คุณค่าความเป็นไทยและรู้บริบทสากล โดยมีคุณสมบัติด้านผลลัพธ์ผู้เรียน คือ
  •         1. เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความรอบรู้ด้านต่าง ๆ ในการสร้างสัมมาอาชีพ ความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเป็นผู้มีคุณธรรม ความเพียร มุ่งมั่น มานะ บากบั่น และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
  •         2. เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีทักษะศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก สามารถสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศ
  •         3. เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ความเป็นไทย ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาและเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และประชาคมโลก

  • ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีของนักศึกษา

    ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

    •         ผู้เรียนมีความรอบรู้ในเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงมีการพัฒนารายวิชาที่มีสาระความรู้พื้นฐานทางด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ให้มีความครบถ้วนทั้งเนื้อหาและเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแนวทางการประยุกต์และบูรณาการความรู้ด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ร่วมกับความรู้ด้านอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรมด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ให้เป็นพื้นฐาน และแนวทางที่จะนำไปสู่การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ ชุมชน วิถีชีวิต หรือเกิดการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายหรือนโยบายการพัฒนาประเทศได้ต่อไป จึงกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับลักสูตร (PLOs) ที่สอดคล้องกับมาตรฐานด้านผลลัพธ์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ได้แก่
    •         PLO 1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ได้ในระดับดี
    •         PLO 2 สามารถวางแผนและออกแบบแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ และนำความรู้ทักษะทางด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ไปประยุกต์ใช้ได้
    •         PLO 3 บูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อประยุกต์ใช้ด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ได้อย่างเหมาะสม
    •         PLO 4 สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์ในการวางแผนจัดการเชิงพื้นที่
    •         PLO 5 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์
    •                   PLO 5.1 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์
    •                   PLO 5.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
    •                   PLO 5.3 สามารถก้าวทันความก้าวหน้าขององค์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีโลจิสติกส์โดยเน้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
    •         PLO 6 มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ รับผิดชอบต่อชุมชน มีทัศนคติที่ดี และดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
    •                   PLO 6.1 แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม ขยันหมั่นเพียร ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
    •                   PLO 6.2 แสดงให้เห็นถึงการมีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความซื่อสัตย์ มีวินัย รับผิดชอบต่อชุมชน ท้องถิ่นตนเอง
    •         PLO 7 ยอมรับความเป็นพหุวัฒนธรรมและการสื่อสารที่เหมาะสม
    •                   PLO 7.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดี เข้าใจและยอมรับความเป็นพหุวัฒนธรรม และร่วมแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในองค์กร หน่วยงาน
    •                   PLO 7.2 สามารถสื่อสารด้วยกระบวนการฟัง พูด อ่าน และเขียน อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยภาษาที่เหมาะสม