องค์ความรู้เรื่องวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21

องค์ความรู้เรื่องวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21

กลุ่มข่าว :องค์ความรู้

ด้านการผลิตบัณฑิต :
วิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 มีการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะปรากฏใน มคอ.3 ของรายวิชาที่มีการเลือกนำองค์ความรู้ไปใช้ ได้แก่

รหัสวิชา/ชื่อรายวิชา เทคนิคการสอนในยุคศตวรรษที่ 21

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
**ผลที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาทักษะของนักศึกษา
1. อาจารย์ผู้สอน อ.คมสันต์ นาควังไทร
ชื่อรายวิชา
ประชาสังคมและการมีส่วนร่วม

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
  1. สอนเนื้อหาและทางทฤษฎีในรายวิชา
  2. ให้นักศึกษานำความรู้จาก ทฤษฎีมาวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาเข้าร่วมและ สังเกตการณ์ในชุมชนของตน เช่น การเข้าประชุมในหมู่บ้าน ชุมชน หรือการเข้าร่วมรับฟัง ข้อคิดเห็นไปจนถึงการทำ ประชาคมในพื้นที่ เป็นต้น
  3. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของตนในมหาวิทยาลัย หรือกลุ่ม
    ตน และนำมาทำเป็นโจทย์และหาแนวทางการแก้ไขโดยใช้การระดมความคิดเห็น
  4. ให้นักศึกษาบูรณาการความรู้จากในชั้นเรียนออกบริการวิชาการ
นักศึกษามีทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคลและการพูดในที่สาธารณะ รวมทั้งยังได้ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะในการบริการวิชาการ สามารถนำทักษะความรู้ที่ได้รับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งได้ไปเข้าร่วมประชุมร่วมคนในชุมชนและสังเกตการณ์การทำประชาคมในพื้นที่ชุมชนของเพื่อทราบความเป็นไปในพื้นที่และนำมาเชื่อมโยงกับทฤษฎีในชั้นเรียน
ชื่อรายวิชา
การเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
สอนโดยใช้กรณีศึกษาในพื้นที่ในการยก ตัวอย่างเปรียบเทียบ และเข้าศึกษาดูงานในพื้นที่จริง โดยมีวิทยากรท้องถิ่นเป็นผู้บรรยาย นักศึกษาได้ไปศึกษาดูงานด้านการปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ และเรียนรู้จากการลงพื้นที่มาปรับใช้ในวิชาที่เรียน
ชื่อรายวิชา
เศรษฐศาสตร์การเมือง

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
ให้นักศึกษาค้นคว้ากรณีศึกษาจากใน สารสนเทศต่างๆ ทั้งห้องสมุดและอินเตอร์เน็ต และนำมาวิเคราะห์ เช่น เรื่องรัฐสวัสดิการของต่างประเทศ วิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล นักศึกษาสามารถใช้ทักษะการสืบค้นข้อมูลเพื่อหาตัวอย่าง (Case Study) มานำเสนอได้อย่างถูกต้องและสามารถนำเสนอเป็นเป็นพรีเซ็นต์เตชั่นและรูปเล่มรายงาน
2. อาจารย์ผู้สอน อ.ภัคพล รื่นกลิ่น
ชื่อรายวิชา
ระบบบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
ได้มีการเพิ่มเติมนำ Active Learning มาใช้ในการเรียนการสอน โดยวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) และการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Learning) มีการนำเทคนิคการสอนโดยการให้นักศึกษาลงพื้นที่จริงในการศึกษาเรียนรู้ และให้ศึกษาและนำตัวอย่างระบบบรรจุภัณฑ์จริงในท้องถิ่นมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนมาใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชานั้น ผู้สอนประเมินจากการสังเกต ความร่วมมือและความกระตือรือร้นในการร่วมมือทำงานและการออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน พบว่า ในการลงพื้นที่จริงในการศึกษาเรียนรู้ทำให้นักศึกษามีความสนใจในการเรียนมากขึ้น มีทักษะการคิดประยุกต์ การคิดวิเคราะห์ และการทำงานเป็นทีม รวมถึงการศึกษาและนำตัวอย่างระบบบรรจุภัณฑ์จริงมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน
3. อาจารย์ผู้สอน อ.ช่อพฤกษ์ ผิวกู่
ชื่อรายวิชา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมศาสตร์

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
  1. สืบค้นข้อมูลข่าวต่าง ๆ เรียนรู้จากคลิป หรือหนังสั้นที่เหมาะสมและมีประโยชน์ เป็นประเด็นที่น่าใจในสังคมปัจจุบัน รวมถึงประเด็นที่ส่งผลต่อภาพรวมของสังคมในอนาคต
  2. แบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำกิจกรรมการโต้วาที
  3. จัดทำโครงการที่ส่งเสริมและเรียนรู้ในการช่วยเหลือสังคม
  4. นำเสนอการจัดกิจกรรมของกลุ่มนักศึกษาหน้าชั้นเรียนพร้อมกับร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
นักศึกษาได้ปฏิบัติกิจกรรรมในชุมชน ได้เสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตให้แก่นักศึกษาได้มีการรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น
ชื่อรายวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวพุทธศาสน์

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
  1. นักศึกษาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปรายร่วมกันและชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
  2. นักศึกษาสืบค้นและนำเสนอคลิปวิดีโอที่นักศึกษาสนใจ นำเสนอหน้าชั้นเรียน คลิปที่เกี่ยวกับหลักธรรมหรือแนวคิดในการปกครอง
  3. นักศึกษาปฏิบัติกิจกรรม เข้าวัดฟังเทศน์ เดินจงกรม ท่องบทสวดมนต์ฝีกท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่งและบำเพ็ญประโยชน์ และจัดให้มีกิจกรรมปฏิบัติตามฐานที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาและรับฟังนิทานธรรมมะที่ส่งเสริมด้านการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหาร
  4. นักศึกษาจัดทำรายงานการดำเนินงานกิจกรรม
นักศึกษาปฏิบัติกิจกรรมจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์บริเวณต่าง ๆ ที่นักศึกษานำเสนอและนักศึกษายังได้เรียนรู้ในหลักแนวทางการปฏิบัติตนที่ดีและการเป็นผู้บริหารที่ดีในอนาคต ได้เรียนรู้หลักธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในด้านการเรียนและการทำงานต่อไป
4. อาจารย์ผู้สอน อ.วันชัย เพ็งวัน
ชื่อรายวิชา
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
  1. สอนเนื้อหาและทางทฤษฎีในรายวิชา
  2. ให้นักศึกษานำความรู้จาก ทฤษฎีมาวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาเข้าร่วมและ สัมภาษณ์ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในชุมชนของตน เช่น การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนหรือผู้รู้ในหมู่เกี่ยวกับสถานที่วัดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น
  3. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของตนในมหาวิทยาลัย หรือกลุ่มตนและนำมาทำเป็นโจทย์และหาแนวทางการแก้ไขโดยใช้การระดมความคิดเห็นตามกระบวนการสร้างสื่อให้กับวัดประจำท้องถิ่นนั้นๆ
  4. ให้นักศึกษาบูรณาการความรู้จากในชั้นเรียนออกบริการวิชาการโดยการนำความรู้ไปให้กับวัดประจำท้องถิ่น
นักศึกษามีทักษะด้านการสร้างสื่อและรู้ประวัติความเป็นมาของวัดประจำท้องถิ่นได้มากขึ้นพร้อมกับนักศึกษามีทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคลและการพูดในที่สาธารณะ รวมทั้งยังได้ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะในการบริการวิชาการ สามารถนำทักษะความรู้ที่ได้รับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งได้ไปเข้าร่วมประชุมร่วมคนในชุมชนและสัมภาษณ์ชุมชนในพื้นที่และนำมาเชื่อมโยงกับทฤษฎีในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
5. อาจารย์ผู้สอน อ.ศุภมาส ผกากาศ
ชื่อรายวิชา
สังคมเครือข่ายออนไลน์และจรรยาบรรณ

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
เทคนิคการสอนในรายวิชานี้ มีการจัดการเรียนการสอนหลายเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การเรียนแบบ Active Learning การเรียนแบบบูรณาการกับรายวิชา โดยมีลักษณะการเรียนคือ

  1. การเน้นให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้แบบค้นคว้าด้วยตนเอง
  2. ให้นักศึกษาจัดกิจกรรมพี่สอนน้องมองเทคโนโลยี โดยให้แบ่งกลุ่มของนักศึกษาและให้บทบาทนักศึกษาในการเป็นผู้นำ วิทยากร และสันทนาการให้ความสนุกสนาน ในการถ่ายทอดความรู้ทางด้านสื่อสังคมออนไลน์
  3. การให้ผู้เรียนสรุปและช่วยการระดมความคิดในเรื่องราวทางด้านสื่อสังคมออนไลน์ โดยออกมาในรูปแบบของผังข้อมูลบนกระดานในห้องเรียน
จากเทคนิคดังกล่าว ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ทางสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น สามารถเห็นพฤติกรรมของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของบุคคลอื่นๆ การมองถึงข้อดี ข้อเสีย จนไปถึงเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเป็นผู้นำ และกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็นในเรื่องของสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากกนี้นักศึกษายังสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ผ่านรูปแบบหนังสั้นที่นักศึกษาได้จัดทำขึ้นเอง และยังนำความรู้ที่ได้เรียนรู้จากในห้องเรียนไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้อย่างดี และนักศึกษายังสามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการไปจัดกิจกรรมพี่สอนน้องมองเทคโนโลยีได้ดีอีกด้วย
6. อาจารย์ผู้สอน อ.ศุภมาส ผกากาศ
ชื่อรายวิชา
การเขียนโปรแกรมบนเว็บ

  • วิชาหลัก
  • ทักษะชีวิตและอาชีพ
  • ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
  1. บรรยายและสาธิตการเขียนโปรแกรมบนเว็บในบทเรียน
  2. จำลองสถานการณ์ความต้องการใช้โปรแกรมบนเว็บเพื่อให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์และนำไปสู่การเขียนโปรแกรมบนเว็บให้ตรงกับความต้องการ
  3. ใช้บทเรียนสอนออนไลน์ภาษาอังกฤษที่เป็นที่นิยมของนักพัฒนาโปรแกรมในการเรียนรู้และอ้างอิง เช่น www.codecadmy.com และ www.w3cschools.com
  1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้เครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมบนเว็บ
  2. นักศึกษาได้ฝึกการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่จำลองจากความต้องการจริง ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นโปรแกรมบนเว็บ
  3. นักศึกษาได้ฝึกและใช้ทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถไปเรียนรู้จากสื่ออื่นๆ ของต่างประเทศได้ด้วยตนเองในอนาคต