มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวกมลจันทร์ แสงหล้า ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบตราสัญลักษณ์สินค้า ไร่กาญจนศักดิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวกมลจันทร์ แสงหล้า ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบตราสัญลักษณ์สินค้า ไร่กาญจนศักดิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวกมลจันทร์ แสงหล้า ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบตราสัญลักษณ์สินค้า ไร่กาญจนศักดิ์

โปรแกรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวกมลจันทร์ แสงหล้า ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบตราสัญลักษณ์สินค้า ไร่กาญจนศักดิ์ ของอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ณ ห้องประชุมทับทิม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

ชื่ออำเภอพบพระ ไม่ได้มีที่มาจากการพบเจอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หากแต่มาจากคำว่า “ขี้เปรอะเพอะพะ” ที่หมายถึงขี้โคลนเปรอะเลอะเทอะ สมัยก่อนเส้นทางคมนาคมที่อำเภอพบพระยังเป็นถนนดินลูกรัง พอถึงช่วงหน้าฝนมีฝนตกชุก ถ้าหากใครผ่านไปแถวนั้น แข้งขาจะมีแต่ขี้โคลนเปรอะเลอะเทอะ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“ขี้เปรอะเพอะพะ” ทำให้พื้นที่ในอำเภอแห่งนี้ได้ชื่อว่า “บ้านเพอะพะ” ต่อมาทางการเห็นว่าชื่อฟังไม่เหมาะสม จึงเปลี่ยนเป็นชื่อ“เพอะพะ” เป็น “พบพระ” ที่ฟังแล้วดูเป็นสิริมงคลดี

ปัญหาเรื้อรังอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทยก็คือในเรื่องของราคาผลผลิตตกต่ำ และการกดราคาของพ่อค้าคนกลาง นั่นจึงทำให้ในช่วงราวปี 2545 คุณภราดรได้เดินตามรอยพ่อหลวง ด้วยการนำทฤษฎีเกษตรผสมผสานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ที่ไร่ปฐมเพชร โดยได้ทดลองนำผลไม้ต่างๆมาปลูกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง มะม่วง ชมพู่ ทับทิม ละมุด กาแฟ ปาล์มน้ำมัน รวมไปถึง “ทุเรียนพบพระ” ที่วันนี้ถือเป็นของดีสิ่งใหม่ในจังหวัดตาก ในอำเภอพบพระยังมีทุเรียนในไร่ในสวนอื่นๆอีกหลากหลาย อย่างเช่น ทุเรียน“สวนกาญจนศักดิ์” ซึ่ง คุณชัยวัฒน์ ประเสริฐธรรม หรือ “พี่น้อย” เจ้าของสวนได้นำทุเรียนพันธุ์หมอนทองจากชุมพรมาทดลองปลูกที่อำเภอพบพระตั้งแต่ประมาณเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้ก็ได้ให้ผลผลิตที่ดีมีคนมาสั่งจองกันเป็นจำนวนมาก

ผศ. พิริยะ กาญจนคงคา

ผู้เขียนข่าว