ทีมนักวิจัยของศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัยสมุนไพรพื้นบ้าน พื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565

ทีมนักวิจัยของศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัยสมุนไพรพื้นบ้าน พื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565

ทีมนักวิจัยของศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัยสมุนไพรพื้นบ้าน พื้นที่ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565

 

 

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565ทีมนักวิจัยของศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด โดย ผศ.มัลลิกา ทองเอม อาจารย์ธนัชพร หาได้ ผศ.ดร.ธีรศิลป์ กันธา และ ผศ.ดร.อังคณา ตาเสนา ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยโครงการวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายและลักษณะของการใช้ประโยชน์จากของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบออนไลน์ของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน โดยมีเป้าหมายในการเก็บข้อมูลสมุนไพรพื้นบ้านในอำเภอแม่สอด ทั้ง 10 ตำบล
ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณธนิษฐา กาใจ ได้กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลพะวอ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลพะวอ
ผู้วิจัยจะดำเนินการสรุปและสังเคราะห์ข้อมูล สมุนไพรทั้ง 10 ตำบลในอำเภอแม่สอด แล้วนำมาสร้างเป็นรูปแบบแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้สมุนไพร และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพร โดยใช้พื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นสถานที่ต้นแบบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านอันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป

QR CODE

ผศ.มัลลิกา ทองเอม
ผู้เขียนข่าว