มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจ้ย การเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟอินทรีย์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนบ้านมอโก้คี ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจ้ย
การเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟอินทรีย์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม
ณ ชุมชนบ้านมอโก้คี ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรศิลป์ กันธา อาจารย์นิพิฐพนธ์ ฤาชา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจ้ย การเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟอินทรีย์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนบ้านมอโก้คี ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก การลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจ้ยในครั้งนี้ ได้ร่วมประชุมกับชาวบ้านมอโก้โพคี ที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟมอโก้คี ได้เก็บประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2. ตลาดการส่งขายกาแฟ
3. ปัญหาต่างๆของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟมอโก้คี
4. ปฏิทินการเพาะปลูกกาแฟ
5. หน่วยงานต่างๆที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนกลุ่ม
6. องค์ความรู้ที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตกาแฟ
ทั้งนี้ ได้ลงพื้นที่สำรวจในสวนกาแฟอินทรีย์ของนายคาดา อาชีพเกษตรกรที่ปลูกกาแฟอินทรีย์เป็นหลักและนายศักดิ์ดา ทรัพย์ประมาณ อาชีพเกษตรกรที่ปลูกกาแฟอินทรีย์และเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนกาแฟมอโก้คี ได้นำสำรวจสวนกาแฟรวมถึงการอธิบายขั้นตอนการผลิดเมล็ดกาแฟ ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวกาแฟเชอรี่ (เมล็ดกาแฟสด) การแยกเปลือกและเนื้อกาแฟเชอรีออกจากเมล็ด จะเหลือไว้อยู่แค่เมล็ดกาแฟและกะลากาแฟเท่านั้น การหมักกะลากาแฟด้วยน้ำ 12-48 ชั่วโมง การตากกะลากาแฟจนเหลือความชื้นอยู่เพียง 11 % เท่านั้นเพื่อให้เหมาะแก่การเก็บไว้นานๆ จากนั้นได้ศึกษาขั้นตอนระหว่างการคั่วกาแฟที่นำกะลาออกแล้ว โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟมอโก้คีจะทำการคั่วกาแฟแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับคั่วอ่อน ระดับคั่งกลาง ระดับคั่วเข้ม
นายศักดิ์ดา ทรัพย์ประมาณ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์กาแฟมอโก้คี เป็นกาแฟอราบิก้า กาแฟอินทรีย์ 100% การคั่วกาแฟ 3 ระดับนั้นให้รสชาติที่แตกต่างกันดังนี้
1. ระดับการคั่วอ่อน จะให้รสชาติเปรี้ยว และคุณสมบัติดังเดิมของกาแฟทั้งหมดเหมาะกับการทำกาแฟร้อน
2. ระดับการคั่วกลาง จะให้รสชาติหวาน เปรี้ยวและขมเล็กน้อย เหมาะแก่การทำกาแฟที่ต้องการความนุ่ม เช่น ลาเต้ คาปูชิโน ทั้งร้อนและเย็น
3. ระดับการคั่วเข้ม จะได้รสชาติ หวานเล็กน้อยและขม เหมาะกับการทำกาแฟเย็น ที่ต้องการรสชาติที่เข้มข้น หรือ ต้องการเนื้อสัมผัสของกาแฟมาก
อาจารย์นิพิฐพนธ์ ฤาชา
ผู้เขียนข่าว