หน่วยงานวิจัยลงพื้นที่ ตำบลท่าสายลวด ด่านพรมแดนสะพานข้ามแดนไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 และด่านศุลกากร อำเภอแม่สอด ร่วมกับคณะทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรในโครงการการจัดการความรู้แก่ประชาชนตามแนวตะเข็บชายแดนของประเทศไทย
หน่วยงานวิจัยลงพื้นที่ ตำบลท่าสายลวด
ด่านพรมแดนสะพานข้ามแดนไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 และด่านศุลกากร อำเภอแม่สอด
ร่วมกับคณะทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรในโครงการการจัดการความรู้แก่ประชาชนตามแนวตะเข็บชายแดนของประเทศไทย
หน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด โดยดร.อดิเรก ฟั่นเขียว รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิจัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์นงลักษณ์ จิ๋วจู หัวหน้างานวิจัย ร่วมกับทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวรลงพื้นที่ตำบลท่าสายลวด ด่านพรมแดนสะพานข้ามแดนไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 อำเภอแม่สอด และด่านศุลกากร อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในวันที่ 6 มีนาคม 2564
โดยสรุปผลการสัมภาษณ์ทราบได้ว่า สะพานข้ามแดนไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 เป็นพื้นที่ของแขวงการทางตากเป็นหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบ ส่วนหน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานที่มาใช้พื้นที่ในการดำเนินการเท่านั้น การบริหารจัดการจึงเป็นของแขวงการทางตาก โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาใช้พื้นที่ตามอำนาจหน้าที่และบทบาทอีกหลายหน่วยงาน ส่วนด่านศุลกากร ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสินค้าว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จากมีการสร้างขึ้นในพื้นที่ต่างหาก โดยปัจจุบันเสร็จไปแล้วร้อยละ 30 (วันที่ 6 มีนาคม 2564) อย่างไรก็ตาม สำนักงานศุลกากรยังจำเป็นต้องมีการตรวจเพื่อปล่อยสินค้าตามด่านพรมด่านร่วมด้วย
ยิ่งกว่านั้น จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน พบว่า ชุมชนบ้านวังตะเคียน หมู่ 4 ตำบลท่าสายลวดมีปัญหาพื้นฐานที่สำคัญคือปัญหาการจราจรที่ถนนแคบ และต้องรองรับการขนถ่ายสินค้าจำนวนมาก อีกทั้งยังมีปัญหาการขาดน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งต้องซื้อน้ำใช้อีกด้วย
ดร.อดิเรก ฟั่นเขียว
ผู้เขียนข่าว