คณะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ได้จัดโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ University as Marketplace กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร

คณะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ได้จัดโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ University as Marketplace กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 คณะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด ได้จัดโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ University as Marketplace กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร กลุ่มทำยาดมสมุนไพรมหาวัน  ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ 9 บ้านแม่โกนเกน ตำบลมหาวัน อำภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยกิจกรรมดังกล่าว ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เรื่องการเพิ่มช่องทางการตลาดในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์”  วิทยากร โดย ดร.กิตติคุณ ยศบรรเทิง หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข เทศบาลตำบลแม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก และได้กล่าวตอนหนึ่งว่า “ข้อดีของการเพิ่มช่องทางการตลาด เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น การใช้ช่องทางการตลาดทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการขาย การมีช่องทางการตลาดหลายช่องทาง เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะเห็นสินค้าหรือบริการของเรา สร้างการรับรู้แบรนด์ การใช้ช่องทางการตลาดหลายช่องทาง ช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ให้กับลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การใช้ช่องทางการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ ช่วยให้สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้……”

และอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การทำยาดมสมุนไพร มหาวัน“นายวิญญู ไทยอู่ ครูภูมิปัญญาไทย ด้านการแพทย์แผนไทย และได้กล่าวถึงยาดมสมุนไพร มหาวันไว้ว่า “ ยาดมสมุนไพร มหาวัน ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด เช่น การบูร พิมเสน เมนทอล ดอกพิกุลแห้ง โป๊ยกั๊กแห้ง ดอกกานพลูแห้ง  ดอกจันทน์เทศแห้ง และลูกจันทน์เทศแห้ง นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ช่วยให้รู้สึกสดชื่น ตื่นตัว บรรเทาอาการไอ  แก้หอบหืด แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ……..”

ที่มีการผลิตยาดมสมุนไพร มหาวัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีสรรพคุณในด้านบรรเทาอาการ หอบ วิงเวียนศีรษะ ผลผลิตดังกล่าวเป็นผลผลิตจากสมาชิกกลุ่มในพื้นที่ โดยทางกลุ่มมีความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านแพคเกจของผลิตภัณฑ์ที่มีหลากหลายและมีความเหมาะสมกับเทศกาลต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้า รวมถึงต้องการพัฒนาช่องทางการตลาดให้มีความหลากหลายเพื่อให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและหลากหลายช่องทาง  ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมีศักยภาพในการแข่งขัน รวมถึงพัฒนารายได้และคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่ม จึงได้มีการจัดโครงการนี้เพื่อให้กลุ่มมีการพัฒนาศักยภาพด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ พร้อมกับการนำความรู้ของกลุ่มจากการอบรม ไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

อาจารย์นิพิฐพนธ์ ฤาชา

ผู้เขียนข่าว